เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
๑.ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
๒.ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
๓.ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
๑.หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ.ศ.ไว้
๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
๔.เนื้อเรื่่อง
ตัวอย่าง ฉบับที่ (๑๘)
บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา
วันที่ ๑๓ เมษายน,พ.ศ.๒๔๖-
ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก.
ฉันต้องรีบบอกข่าวดีมาให้ทราบ. แม่ไรได้ตกลงแต่งงานแล้วกับหลวงพิเศษผลพานิช,พ่อคามั่งมี, ซึ่งนำบทว่าเป็นโขคดีสำหรับหล่อน. เพราะอาจจะหวังได้ว่าจะได้มีความสุขต่อไปในชีวิต.จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป,แต่จะหวังไว้ว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง,คือ”ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน.”แต่ถึงจะใจไม่ช่วงเขาก็พอมีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่อุไรได้.
การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นตัวเป็นตนเสียแล้วเช่นนี้ ทำให้ฉันเองรู้สึกความตะขิดตะขวางห่วงใย.และรู้สึกว่าอาจจะคิดหาคู่ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีข้อควรรังเกียจรังงอนเลย.พ่อประเสริฐเป็นเพื่อนรักกันที่สนิทสนมที่สุด,เพราะฉะนั้นฉันขอบอกตรงๆ ว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว,ซึ่งฉันหวังใจว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตต่อไปโดยยั่งยืนจริงจัง.หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน,แล้วเจ้าคุณพิสิฐกับพ่อของฉันก็ชอบกันมาก.ฉะนั้นพอพ่อประเสริฐกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็เตรียมตัวไว้เป็นเพื่อนบ่าวที่เดียวเถิด!
จากเพื่อนผู้กำลังปลื้มใจ.
หลวงบริบาลบรมศักดิ์
คำศัพท์
ครึ
|
เก่า ล้าสมัย
| ||
โช
|
Show อวดให้ดู
| ||
เทวดาถอดรุป
|
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
| ||
แบขะเล่อร์
|
Bachelor ชายโสด
| ||
ปอปูลาร์
|
Popular ได้รับความนิยม
| ||
พิสดาร
|
ละเอียดลออ กว้างขวาง
| ||
พื้นเสีย
|
อารมณ์เสีย หมายถึง โกรธ
| ||
ไพร่ๆ
|
คนสามัญ ชาวบ้าน
| ||
เรี่ยม
|
สะอาดหมดจด เอี่ยมอ่อง วิเศษ ดีเยี่ยม
| ||
ลอยนวล
|
ตามสบายไม่มีผู้ใด ขัดขวางจับกุม
| ||
สิ้นพูด
|
หมดคำพูดที่จะกล่าว
| ||
หมอบราบ
|
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
| ||
หมายว่า
|
คาดว่า
| ||
หลวง
|
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนนางและต่ำกว่าพระ
| ||
หัวนอก
|
คนที่นิยมแบบฝรั่ง
| ||
หัวเมือง
|
ต่างจังหวัด
| ||
อยู่ข้าง
|
ค่อนข้าง
| ||
อินเตอเรสต์
|
Interest ความสนใจ
| ||
เอดูเคชั่น
|
Education การศึกษา
| ||
ฮันนี่มูน
|
Honrymoon การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่
| ||
บทวิเคราะห์
1.ตัวละคร
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้ ทำให้เรารู้จักตัวละครอย่างลึกซึ้ง
2. ฉาก
ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพิ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกใหม่ สภาพบ้านเมืองมีความเจริญแบบชาวตะวันตก
3.กลวิธีการแต่ง
หัวใจของชายหนุ่ม เป็นนวนิยายขนาดสั้น นำเสนอในรูปแบบของจดหมาย
4. คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
4.1 เป็นรอยต่อวัฒนธรรม
4.2 ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
4.3 อย่าลืมตัว
4.4 การศึกษาดีช่วยให้ความคิดดี
4.5 การมีภรรยาคนเดียว
5 คุณค่าด้านความรู้
นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้หญิง เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน และเราจากสังคมชั้นสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น