Superman 3
WELCOME TO MY BLOG ยินดีต้อนรับครับ ..

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลอนแปด


กลอนแปด

             กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ


ลักษณะคำประพันธ์

๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
          วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ         วรรคที่สองเรียกวรรครับ
           วรรคที่สามเรียกวรรครอง            วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
               คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
                คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
                คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
                 คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี


๓. สัมผัส
             ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)อ่านเพิ่มเติม>>

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาชาติคำหลวง


มหาชาติคำหลวง
 
มหาชาติคำหลวง ก็คือเรื่องเวสสันดรชาดก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแปลแต่งที่เมืองพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2025 ดังปรากฏหลักฐานใน พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า " ศักราช 844 ขานศก ท่านให้เล่นการมหรสพ 15 วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์พระมหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์ " แต่ละกัณฑ์ กวีจะแต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ร่ายโบราณฉันท์ โคลง เป็นต้น และการแต่งเรียกว่าแปลยกศัพท์ กล่าวคือขึ้นต้นวรรคด้วยภาษาบาลีแล้วแปลเป็นภาษาไทยสลับกันไปทุกวรรค เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็โปรดให้นำมา อ่านตรวจทานแก้ไขและคิดทำนองสวดอย่างวิจิตรพิสดาร มหาชาติคำหลวงนี้ไม่ใช่สำหรับพระเทศน์แต่ให้เจ้าหน้าที่ กรมธรรมการ คือ ขุนทินบรรณาการและขุนธารกำนัล พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2 คนใช้สวดถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงฟังทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทำนองสวดของแต่ละกัณฑ์ มีเม็ดพรายในการสวดก็แตกต่างกันไปทั้งหลบเสียง เอื้อนเสียง หลังจากเสียกรุงฯ เมื่อพ.ศ. 2310 ต้นฉบับ มหาชาติคำหลวงหายไป 6 กัณฑ์ คือ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมกวีร่วมกัน แต่งซ่อมกัณฑ์ที่ยังขาดให้ครบทั้ง 13 กัณฑ์
ธรรมเนียมการสวดมหาชาติคำหลวงยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาแต่เหลือสวด เพียงกัณฑ์มหาพนเท่านั้น ข้าราชการกรมการศาสนาจะแต่งชุดขาวตั้งเตียงสวดต่อท้ายอาสน์สงฆ์ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกระบะบูชาปักธูปเทียน สมุดที่ใช้บันทึกมหาชาติคำหลวงเป็นสมุดไทยดำเขียนตัวหนังสือ ด้วยหรดาลและมีเครื่องหมายบอกทำนองสวดกำกับไปทุกวรรค
อานิสงส์ ๑๓ กัณฑ์
ผู้ไดบูชากัณฑ์ทศพร (กัณฑ์ที่ ๑)อานิสงส์ท่านบอกว่าในชาติหน้าที่ไปบังเกิดจะประกอบด้วยรูปสมบัติมีสิริโฉมและรูปร่างที่งดงามอันงดงามกว่าชนทั้งหลาย จะเจรจาปราศัยก็มีน้ำเสียงไพเราะเสนาะโสต มีกลิ่นกายหอมฟุ้งไปไกล แม้จะได้สามีภรรยาบุตรธิดา ก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามอ่านเพิ่มเติม>>

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำเป็นและคำตาย


ลักษณะของคำเป็น และคำตาย

คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
  1. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
  2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
  3. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ
คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่ออกเสียงไม่สะดวก ซึ่งมีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
  1. คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา)
    • สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
  2. คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
    • ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม


เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิต เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 .หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0มีนาคม พ.. ๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ..ไว้                                    
 ๒.คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ พ่อประเสริฐเพื่อนรัก

๔.เนื้อเรื่่อง

                                       ตัวอย่าง   ฉบับที่ (๑๘)
                                                                                  บ้านเลขที่ 00 ถนนสี่พระยา
                                                                          วันที่ ๑๓ เมษายน,..๒๔๖-
ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก.
          ฉันต้องรีบบอกข่าวดีมาให้ทราบ. แม่ไรได้ตกลงแต่งงานแล้วกับหลวงพิเศษผลพานิช,พ่อคามั่งมี, ซึ่งนำบทว่าเป็นโขคดีสำหรับหล่อน. เพราะอาจจะหวังได้ว่าจะได้มีความสุขต่อไปในชีวิต.จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป,แต่จะหวังไว้ว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง,คือ”ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน.”แต่ถึงจะใจไม่ช่วงเขาก็พอมีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่อุไรได้.
           การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นตัวเป็นตนเสียแล้วเช่นนี้ ทำให้ฉันเองรู้สึกความตะขิดตะขวางห่วงใย.และรู้สึกว่าอาจจะคิดหาคู่ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีข้อควรรังเกียจรังงอนเลย.พ่อประเสริฐเป็นเพื่อนรักกันที่สนิทสนมที่สุด,เพราะฉะนั้นฉันขอบอกตรงๆ ว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว,ซึ่งฉันหวังใจว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตต่อไปโดยยั่งยืนจริงจัง.หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน,แล้วเจ้าคุณพิสิฐกับพ่อของฉันก็ชอบกันมาก.ฉะนั้นพอพ่อประเสริฐกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็เตรียมตัวไว้เป็นเพื่อนบ่าวที่เดียวเถิด!
จากเพื่อนผู้กำลังปลื้มใจ.
หลวงบริบาลบรมศักดิ์
คำศัพท์
ครึ
เก่า ล้าสมัย
โช
Show อวดให้ดู
เทวดาถอดรุป
มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบขะเล่อร์
Bachelor ชายโสด
ปอปูลาร์
Popular ได้รับความนิยม
พิสดาร
ละเอียดลออ กว้างขวาง
พื้นเสีย
อารมณ์เสีย หมายถึง โกรธ
ไพร่ๆ
คนสามัญ ชาวบ้าน
เรี่ยม
สะอาดหมดจด เอี่ยมอ่อง วิเศษ ดีเยี่ยม
ลอยนวล
ตามสบายไม่มีผู้ใด ขัดขวางจับกุม
สิ้นพูด
หมดคำพูดที่จะกล่าว
หมอบราบ
ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า
คาดว่า
หลวง
บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าขุนนางและต่ำกว่าพระ
หัวนอก
คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง
ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง
ค่อนข้าง
อินเตอเรสต์
Interest ความสนใจ
เอดูเคชั่น
Education การศึกษา
ฮันนี่มูน
Honrymoon การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่

บทวิเคราะห์
1.ตัวละคร
ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้  ทำให้เรารู้จักตัวละครอย่างลึกซึ้ง

 2. ฉาก
    ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะคนชั้นสูงเพิ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกใหม่ สภาพบ้านเมืองมีความเจริญแบบชาวตะวันตก
3.กลวิธีการแต่ง
 หัวใจของชายหนุ่ม เป็นนวนิยายขนาดสั้น นำเสนอในรูปแบบของจดหมาย
4. คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
4.1 เป็นรอยต่อวัฒนธรรม
4.2 ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน
4.3 อย่าลืมตัว
4.4 การศึกษาดีช่วยให้ความคิดดี
4.5 การมีภรรยาคนเดียว
5 คุณค่าด้านความรู้
  นวนิยายเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้หญิง เริ่มไว้ผมยาว ค่อยๆเลิกนุ่งโจงกระเบน และเราจากสังคมชั้นสูง

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ



ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์ 
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
๕.กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ 
เอกโทษ
 และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?

คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ
อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ 
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ
และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้) 

คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ

คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม
เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อ
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้
เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" 
ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ"

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี ที่มีไม้เอกไม้โทตรงตามบังคับ

๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้างอันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใครทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหลลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้าอย่าได้ถามเผือ ๚ะ